top of page

มารยาทในการเข้าวัด

แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว ที่วัดแห่งนี้จะปฏิบัติตามประเพณีวัดป่าไทยก็ตาม ผู้ที่มาเยี่ยมเยือน ก็ไม่จำเป็นต้องรู้สึกประหม่าเพราะขาดความคุ้นเคยเกี่ยวกับเรื่องนี้  มีข้อความที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องมารยาทในวัด ปรากฏขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในพระคัมภีร์ซึ่งได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นเวลา 2,600 ปี:

บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกทูลปราศรัยแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประนมมือ แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและโคตรของตน

ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็นั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร

มัจจิมา นิกาย 35

ในข้อความดังกล่าวจะสังเกตเห็นได้ว่า ไร้การวิพากษ์วิจารณ์ ผู้คนที่มาพบพระพุทธเจ้ามีพฤติกรรมที่สุภาพและเคารพ ซึ่งล้วนแล้วแต่ดุลพินิจและนิสัยของแต่ละบุคคล บทความเบื่องต้นไม่มีคำวิจารณ์ใดๆที่กล่าวว่าการทำแบบไหนถูก แบบไหนผิด



ใครที่มีเจตนาดีย่อมสามารถเยี่ยมชมวัดได้ และมารยาทที่กำหนดไว้ที่นี้เป็นสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้หากพึงอยากจะทำ สำหรับผู้ที่สนใจอยากทำความคุ้นเคยกับมารยาทของสายวัดป่าไทย มีคำอธิบายสั้นๆด้านล่างถึงการปฎิบัตตนทางกายและวาจา

ร่างกาย

มารยาทขั้นพื้นฐานทางกายนั้น ตั้งอยู่บนความเข้าใจที่ว่า  วัดนี้เป็นเขตอภัยทาน  เป็นสถานที่ที่พวกเรามีความรับผิดชอบต่อการให้อิสระจากความกลัวแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ความรุนแรงหรือพฤติกรรมก้าวร้าวใดๆในวัด เป็นพฤติกรรมต้องห้ามเด็ดขาด การขโมยของก็เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมต้องห้ามเด็ดขาด และผู้ที่ขโมยของจะไม่สามารถมาวัดได้อีกแล้วเช่นกัน  การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัดผิดศีลธรรม

ในระดับที่ละเอียดกว่านั้น มารยาทในการปฏิบัติตนของญาติโยมต่อพระภิกษุสงฆ์ส่วนใหญ่มาจาก การประพฤติพรหมจรรย์ของพระสงฆ์ พระสงฆ์จะไม่สัมผัสหรือแตะต้องร่างกายของหญิง รวมถึงการจับมือหรือรับสิ่งของด้วยมือเปล่า  พระสงฆ์จะใช้ 'ผ้าถวาย' เพื่อรับสิ่งของ
การไหว้หรือการพนมมือเป็นการทักทายพระและพระสงฆ์มักจะพยักหน้าโต้ตอบ

 

อีกข้อนึงที่ควรพิจรณาคือ พระสงฆ์ไม่สามารถพบปะกับผู้หญิงเป็นการส่วนตัวได้ จะต้องมีชายอีกคนหนึ่งอยู่ด้วย หลักการนี้ใช้กับแม่ชีเช่นกัน ซึ่งในกรณีนั้นหากมีผู้ชายมาเยี่ยมแม่ชี จะต้องมีผู้หญิงอยู่ด้วย

82251967_851689768618468_7991764901729140736_o_edited.jpg
191013_143_edited.jpg

ตามประเพณีพุทธศาสนาของชาวไทยในวัฒนธรรมไทยนั้น เท้าถือเป็นส่วนของร่างกายที่ต่ำและสกปรกที่สุด ซึ่งมักจะสกปรกจริง! ดังนั้นควรนั่งในลักษณะที่ไม่ชี้ฝีเท้าไปในทางพระสงฆ์ พระพทุธรูปหรือพระประธาน
ไม่ควรให้สวมใส่รองเท้าเข้าภายในอาคารวัด

สำหรับผู้ที่นับถือคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นที่พึ่ง    การกราบสามครั้งต่อหน้าพระพุทธรูปและอีกสามครั้งต่อหน้าพระสงฆ์ เป็นการแสดงถึงความเคารพที่เหมาะสมตอนเข้าวัด และก่อนออกจากวัด

การกราบในประเพณีนี้จะทำในขณะที่คุกเข่าลงนั่ง หลังจากนั้นก้มไปข้างหน้าเพื่อให้ข้อศอกและมือแตะพื้นโดยมีพื้นที่ว่างเพียงพอระหว่างมือเพื่อแตะหน้าผากลงกับพื้น ขณะที่ก้มกราบสามครั้ง ควรระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

mudji.jpg

วาจา

การพูดเป็นทางแรกในการแสดงออกถึง ความโลภ ความเกลียดชัง และความเย่อหยิ่ง  คำพูดของเรามักจะเปิดเผยมากกว่าที่เราคิด และอาจจะไม่ได้เป็นไปในทางที่ดีเสมอไป

 

ความซื่อสัตย์ขั้นพื้นฐาน ความเป็นมิตร และการไตร่ตรองทางวาจา (หมายถึงพูดแต่สิ่งที่ควรค่าแก่การพูดเท่านั้น) คือกฎเกณฑ์ที่ควรปฎิบัติตาม การเคารพซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่พึงกระทำ

 

พระสงฆ์จะได้รับชื่อใหม่ในภาษาบาลีเมื่อบวชเป็นพระภิกษุ พระบางรูปอาจจะใช้ชื่อภาษาบาลี แต่พระบางรูปยังคงใช้ชื่อปกติต่อไป  หากญาติโยมมีข้อสงสัยในการเรียกพระ สามารถใช้คำว่า  'อาจารย์'  (ซึ่งหมายถึง 'ครู') หรือ 'ภันเต' (ออกเสียงว่า 'พัน-เต' หมายถึง 'ท่าน')     เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการกล่าวปราศรัยกับพระ   โดยปกติผู้นับถือศรัทธาจะเลือกใช้คำใดคำหนึ่งก่อนหน้าชื่อของพระ ยกตัวอย่างเช่น อาจารย์ หาสปัญโญ หรือ ภันเตหาสปัญโญ  

เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ ลูกศิษย์วัดมักยกมือในลักษณะอัญชลีหรือไหว้ในขณะที่สนทนากับพระภิกษุ หรือระหว่างลูกศิษย์วัดด้วยกันเอง

1478.jpg
73460757_786932565094189_102828270902312

พระภิกษุก็จะทำเช่นนี้เมื่อสนทนากับพระผู้อาวุโสด้วย

มารยาทหรือพฤติกรรมที่กล่าวถึงข้างต้นย่อมเกิดจากความเคารพและความต้องการที่จะเรียนรู้

 

ทุกคนที่มาวัดล้วนแต่เป็นผู้ใฝ่รู้ในเรื่องของชีวิต ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง 

จะรับความรู้ได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ การประพฤติและทัศนคติของแต่ละบุคคล

bottom of page